วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูปแบบ


1. ความหมายของแผนชั้นเรียนเต็มรูป

แผนชั้นเรียนเต็มรูป หมายถึง จำนวนห้องเรียนรวมสูงสุดของโรงเรียนที่กำหนดในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความสำคัญของแผนชั้นเรียนเต็มรูป
แผนชั้นเรียนเต็มรูปมีบทบาทสำคัญต่อการวางแผนการศึกษาและการจัดการศึกษา ดังนี้
2.1 ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนชั้นเรียนรายปี โดยในการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี
จะกำหนดเป้าหมายการรับนักเรียนให้พอเหมาะกับจำนวนนักเรียนที่คาดว่าจะเข้าเรียนในปีนั้น แต่ไม่ควรเกินแผนชั้นเรียนเต็มรูป
2.2 ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดหาที่เรียนเพิ่ม โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะเป็น
ตัวกำหนดว่า ในพื้นที่บริการของโรงเรียน สามารถให้บริการกับนักเรียนตัวป้อนได้หมดหรือไม่ ถ้ามีนักเรียนเหลือก็สามารถวางแผนหาวิธีการให้นักเรียนเหล่านี้ได้มีที่เรียน ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี
2.3 ใช้เป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับอาคารเรียน อาคารประกอบโดยการ
กำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูป จะทำให้ทราบว่าโรงเรียนควรจะมีอาคารเรียน อาคารประกอบเท่าใด ซึ่งจะทำให้กำหนดงบประมาณสำหรับการก่อสร้างได้
2.4 ใช้เป็นหลักในการวางผังบริเวณโรงเรียน โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะช่วยให้การจัดวาง
ผังบริเวณมีความเหมาะสมกับพื้นที่ของโรงเรียน

3. องค์ประกอบที่ใช้กำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูป
การวิเคราะห์กำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
3.1 ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรในโรงเรียน
ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนจะต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น บุคลากร อาคารเรียน อาคารประกอบให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการคำนวณพบว่า แผนชั้นเรียนเต็มรูปจะมีขนาด 12 หรือ 18 หรือ 24 ....ห้องเรียน และรูปแบบที่มี 2 เป็นตัวประกอบ เช่น 4-4-4/6-6-6 หรือ 4-4-4/4-4-4 หรือ ....เป็นขนาด และรูปแบบที่ช่วยให้การใช้ทรัพยากรที่อยู่ในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การเขียนแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะเขียนแสดงขนาดและรูปแบบในรูปของจำนวนห้องเรียน โดยจำนวนห้องเรียนของชั้นเรียนในแต่ละระดับ จะกำหนดให้มีจำนวนห้องเท่ากัน คือ
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนเฉพาะระดับประถมศึกษา
เขียนเป็นรูป ป.1-ป.2-ป.3//ป.4-ป.5-ป.6 เช่น
ห้องเรียน 2-2-2 // 2-2-2 (12 ห้อง)
นักเรียน 80-80-80//80-80-80 ( 480 คน)
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษา
เขียนเป็นรูป อ.1-อ.2/ป.1-ป.2-ป.3//ป.4-ป.5-ป.6 เช่น
ห้องเรียน 1 – 1/2-2-2 // 2-2-2 (14 ห้อง)
นักเรียน 30 – 30 /80-80-80//80-80-80 (540 คน)
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เขียนเป็นรูป อ.1-อ.2/ป.1-ป.2-ป.3//ป.4-ป.5-ป.6///ม.1-ม.2-ม.3
ห้องเรียน 1–1/2-2-2 // 2–2-2///1–1-1 (17 ห้อง)
นักเรียน 30 – 30 /80-80-80//80-80-80///40-40-40( 660 คน)
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เขียนเป็นรูป ป.1-ป.2-ป.3//ป.4-ป.5-ป.6ม.1-ม.2-ม.3 เช่น
ห้องเรียน 2-2-2 // 2-2-2///2-2-2 (18 ห้อง)
นักเรียน 80-80-80//80-80-80///80-80-80 ( 720 คน)
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย
เขียนเป็นรูป ม.1-ม.2-ม.3 //ม.4-ม.5-ม.6 เช่น
ห้องเรียน 10-10-10// 5- 5- 5 ( 45 ห้อง)
นักเรียน 400-400-400/// 200-200-200 ( 1800 คน)

แผนชั้นเรียนเต็มรูปโดยปกติจะกำหนดไว้ 10 ขนาด และมีรูปแบบ ดังนี้
1. ขนาด 12 ห้องเรียน
2. ขนาด 18 ห้องเรียน
3. ขนาด 24 ห้องเรียน
4. ขนาด 30 ห้องเรียน
5. ขนาด 36 ห้องเรียน
6. ขนาด 42 ห้องเรียน
7. ขนาด 48 ห้องเรียน
8. ขนาด 54 ห้องเรียน
9. ขนาด 60 ห้องเรียน
10.ขนาด 72 ห้องเรียน
นอกจากขนาดของแผนชั้นเรียนเต็มรูป 10 ขนาดนี้แล้ว ยังมีขนาดอื่น ๆ อีก เช่น 6 หรือ 9 หรือ 15 หรือ 66 เป็นต้น โรงเรียนที่มีแผนชั้นเรียนเต็มรูปต่างจากขนาดปกติทั้ง 10 ขนาดดังกล่าว ส่วนใหญ่จะปรับให้สอดคล้องกับตัวป้อนและความต้องการของชุมชน

3.2 ประสิทธิภาพของการบริหาร
ในการบริหารงานมีปัจจัยหลายประการที่จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ ขนาด
ของแผนชั้นเรียนเต็มรูปเป็นปัจจัยประการหนึ่ง ประเด็นของการพิจารณาอยู่ที่ว่าแผนชั้นเรียนเต็มรูปขนาดเท่าใด จึงจะเอื้ออำนวยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด จากการศึกษาพบว่าขนาดของโรงเรียนที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวนนักเรียนไม่ควรเกิน 1,500 คน
หรือประมาณ 36 ห้องเรียน แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องจัดเกิน 36 ห้องเรียน ก็พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ที่สุด ที่สามารถบริหารได้คล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีขนาด 60 ห้องเรียน หรือมีนักเรียนไม่เกิน 2,500 คน

3.3 จำนวนนักเรียนในพื้นที่บริการของโรงเรียน
จำนวนนักเรียนในพื้นที่บริการของโรงเรียนเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุด ที่ใช้ในการกำหนด
ขนาดและรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูป ซึ่งพื้นที่บริการของโรงเรียน หมายถึง อาณาบริเวณที่โรงเรียนจะรับนักเรียนได้โดยที่นักเรียนสามารถเดินทางมาเรียนได้สะดวก สำหรับข้อมูลที่ใช้จะมี 2 ส่วน คือ แผนชั้นเรียนรายปี จะทำให้ทราบข้อมูลจำนวนนักเรียนทั้งในอดีตและปัจจุบัน อีกส่วนหนึ่งการคาดคะเนแนวโน้มของจำนวนนักเรียนในพื้นที่บริการในอนาคต ในกรณีที่เป็นโรงเรียนเดิม
การวิเคราะห์กำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะใช้ข้อมูลทั้งสองส่วนมาพิจารณา แต่ถ้าเป็นโรงเรียนตั้งใหม่ก็คงใช้เฉพาะข้อมูลคาดคะเนจำนวนนักเรียนในอนาคตเท่านั้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสัดส่วนในการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. การขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 9 ปี และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี

3.4 พื้นที่ของโรงเรียน
จะเป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้กำหนดขนาดของแผนชั้นเรียนเต็มรูป โดยการคำนวณหาอัตราส่วน
พื้นที่ต่อนักเรียนและคิดออกมาเป็นจำนวนห้องเรียน สำหรับเกณฑ์การคิดพื้นที่ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ดังนี้
3.4.1 โรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนขนาดใหญ่ จะคิดพื้นที่ 30 ตารางเมตรต่อนักเรียน
1 คน
3.4.2 โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่มีประชากรหนาแน่น จะคิดพื้นที่ 10 ตารางเมตรต่อนักเรียน 1 คน

3.5 สภาพที่เอื้อต่อการเข้าเรียน
สภาพที่เอื้อต่อการเข้าเรียนได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์และการคมนาคม ซึ่งจะช่วยให้
นักเรียนสามารถเดินทางมาเรียนได้โดยสะดวก และใช้เวลาในการเดินทางไม่นานเกินไป ในการกำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปของโรงเรียนควรคำนึงถึงสภาพดังกล่าวด้วย เพราะลักษณะของชุมชนในชนบท มักรวมตัวกันเป็นชุมชนที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่กระจายอยู่ทั่วไป อีกประการหนึ่งจากการศึกษาภาคบังคับได้ขยายไปถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนั้น จะทำให้นักเรียนระดับประถมศึกษาเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทุกคน และเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้น

4. ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดขนาดและรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูป จะใช้ข้อมูลในเรื่องจำนวนนักเรียน และพื้นที่ของโรงเรียนเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ และนำมาปรับให้เข้ากับขนาดและรูปแบบที่เหมาะสม โดยมีขั้นตอนการวิเคราะห์ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมข้อมูลในพื้นที่บริการที่โรงเรียนตั้งอยู่
1.1จำนวนนักเรียนที่คาดคะเนได้ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
1.2 แผนชั้นเรียนรายปีในอดีตและปัจจุบันของโรงเรียนย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี
ขั้นตอนที่ 2 กรอกข้อมูลตาราง ดังนี้
ช่องที่ 1 กรอกโรงเรียน และตำบลในพื้นที่บริการ
ช่องที่ 2 กรอกจำนวนพื้นที่ของโรงเรียน
ช่องที่ 4 กรอกแผนชั้นเรียนรายปีในอดีตและปุจจุบันของโรงเรียนย้อนหลัง 3 ปี
ช่องที่ 5-8 นำเป้าหมายจำนวนนักเรียนชั้น อ.1 ป.1 ม.1 และ ม.4 ที่ได้จากการประมาณการในพื้นที่บริการ เฉพาะปีสุดท้ายของปีที่กำหนดจำแผนเต็มรูป กรอกลงในช่องที่5-8
ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูล
3.1 แสดงเป้าหมายจำนวนนักเรียนชั้น อ.1 ป.1 ม.1 และม.4 ในช่องที่ 5-8 ให้เป็นห้องเรียน โดยชั้น อ.1 หารด้วย 30 ชั้น ป.1,ม.1,ม.4 หารด้วย 40 และนำผลลัพธ์ที่ได้กรอกลงในช่องที่ 9-12 ตามลำดับ
3.2 คำนวณขนาดแผนชั้นเรียนเต็มรูปของโรงเรียนจากที่ดินช่องที่ 3 โดยใช้สูตร ดังนี้

แผนชั้นเรียนเต็มรูป = พื้นที่ของโรงเรียนเป็น ตรม. .
พื้นที่เป็น ตรม./ นร. 1คน x จำนวน นร./ห้องเรียน

หรือ F = A .
S X C

F = แผนชั้นเรียนเต็มรูป
A = พื้นที่ของโรงเรียนเป็น ตรม.
S = พื้นที่เป็นตรม./ นร. 1 คน
C = จำนวนนักเรียน/ห้องเรียน

1 ไร่ เท่ากับ 4 งาน ( 1 งาน เท่ากับ 100 ตารางวา ) = 1 ไร่ เท่ากับ 400 ตารางวา
1 ไร่ เท่ากับ 1,600 ตรม. ( 1 ตารางวา เท่ากับ 4 ตรม.)

กรณีโรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่มีประชากรหนาแน่น พื้นที่ของโรงเรียนมีน้อย จะคิดพื้นที่ 10 ตรม.ต่อนักเรียน 1 คน ถ้าโรงเรียนไม่ได้ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่จะคิดพื้นที่ 30 ตรม.ต่อคน สำหรับจำนวนนักเรียนอนุบาลให้คิด 30 คนต่อห้อง และระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้คิด 40 คนต่อห้อง

นำผลลัพธ์ที่ได้กรอกลงในช่องที่ 3 เช่น โรงเรียนในส่วนภูมิภาคแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอที่มีชุมชนไม่หนาแน่น เช่น มีที่ดิน 18 ไร่ 2 งาน
18.50 x 1,600 = 24.6 หรือ 25 ห้องเรียน
30 x 40




ขั้นตอนที่ 4 กำหนดขนาดและรูปแบบ
พิจารณาข้อมูลในเรื่องขนาดแผนชั้นเรียนเต็มรูป คำนวณจากกพื้นที่ (ช่อง 3) แผนชั้นเรียนย้อนหลัง( ช่องที่ 4) และจำนวนห้องเรียนที่คาดคะเนได้( ช่องที่ 9-12 ) แล้ว กำหนดขนาดรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูปของโรงเรียน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ประสิทธิภาพการบริหารและสถานที่เอื้อต่อการเข้าเรียนประกอบการพิจารณากำหนดขนาดและรูปแบบแผนชั้นเรียนเต็มรูปให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษา
โรงเรียนนำเสนอสำนักงานเขตพื้นการศึกษา เพื่อปรับเป็นภาพรวมและอนุมัติรายโรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น