วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การจัดทำแผนชั้นเรียนเต็มรูปแบบ


1. ความหมายของแผนชั้นเรียนเต็มรูป

แผนชั้นเรียนเต็มรูป หมายถึง จำนวนห้องเรียนรวมสูงสุดของโรงเรียนที่กำหนดในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความสำคัญของแผนชั้นเรียนเต็มรูป
แผนชั้นเรียนเต็มรูปมีบทบาทสำคัญต่อการวางแผนการศึกษาและการจัดการศึกษา ดังนี้
2.1 ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนชั้นเรียนรายปี โดยในการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี
จะกำหนดเป้าหมายการรับนักเรียนให้พอเหมาะกับจำนวนนักเรียนที่คาดว่าจะเข้าเรียนในปีนั้น แต่ไม่ควรเกินแผนชั้นเรียนเต็มรูป
2.2 ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดหาที่เรียนเพิ่ม โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะเป็น
ตัวกำหนดว่า ในพื้นที่บริการของโรงเรียน สามารถให้บริการกับนักเรียนตัวป้อนได้หมดหรือไม่ ถ้ามีนักเรียนเหลือก็สามารถวางแผนหาวิธีการให้นักเรียนเหล่านี้ได้มีที่เรียน ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี
2.3 ใช้เป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับอาคารเรียน อาคารประกอบโดยการ
กำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูป จะทำให้ทราบว่าโรงเรียนควรจะมีอาคารเรียน อาคารประกอบเท่าใด ซึ่งจะทำให้กำหนดงบประมาณสำหรับการก่อสร้างได้
2.4 ใช้เป็นหลักในการวางผังบริเวณโรงเรียน โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะช่วยให้การจัดวาง
ผังบริเวณมีความเหมาะสมกับพื้นที่ของโรงเรียน

3. องค์ประกอบที่ใช้กำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูป
การวิเคราะห์กำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
3.1 ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรในโรงเรียน
ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนจะต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น บุคลากร อาคารเรียน อาคารประกอบให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการคำนวณพบว่า แผนชั้นเรียนเต็มรูปจะมีขนาด 12 หรือ 18 หรือ 24 ....ห้องเรียน และรูปแบบที่มี 2 เป็นตัวประกอบ เช่น 4-4-4/6-6-6 หรือ 4-4-4/4-4-4 หรือ ....เป็นขนาด และรูปแบบที่ช่วยให้การใช้ทรัพยากรที่อยู่ในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การเขียนแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะเขียนแสดงขนาดและรูปแบบในรูปของจำนวนห้องเรียน โดยจำนวนห้องเรียนของชั้นเรียนในแต่ละระดับ จะกำหนดให้มีจำนวนห้องเท่ากัน คือ
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนเฉพาะระดับประถมศึกษา
เขียนเป็นรูป ป.1-ป.2-ป.3//ป.4-ป.5-ป.6 เช่น
ห้องเรียน 2-2-2 // 2-2-2 (12 ห้อง)
นักเรียน 80-80-80//80-80-80 ( 480 คน)
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษา
เขียนเป็นรูป อ.1-อ.2/ป.1-ป.2-ป.3//ป.4-ป.5-ป.6 เช่น
ห้องเรียน 1 – 1/2-2-2 // 2-2-2 (14 ห้อง)
นักเรียน 30 – 30 /80-80-80//80-80-80 (540 คน)
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เขียนเป็นรูป อ.1-อ.2/ป.1-ป.2-ป.3//ป.4-ป.5-ป.6///ม.1-ม.2-ม.3
ห้องเรียน 1–1/2-2-2 // 2–2-2///1–1-1 (17 ห้อง)
นักเรียน 30 – 30 /80-80-80//80-80-80///40-40-40( 660 คน)
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เขียนเป็นรูป ป.1-ป.2-ป.3//ป.4-ป.5-ป.6ม.1-ม.2-ม.3 เช่น
ห้องเรียน 2-2-2 // 2-2-2///2-2-2 (18 ห้อง)
นักเรียน 80-80-80//80-80-80///80-80-80 ( 720 คน)
- กรณีที่โรงเรียนเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย
เขียนเป็นรูป ม.1-ม.2-ม.3 //ม.4-ม.5-ม.6 เช่น
ห้องเรียน 10-10-10// 5- 5- 5 ( 45 ห้อง)
นักเรียน 400-400-400/// 200-200-200 ( 1800 คน)

แผนชั้นเรียนเต็มรูปโดยปกติจะกำหนดไว้ 10 ขนาด และมีรูปแบบ ดังนี้
1. ขนาด 12 ห้องเรียน
2. ขนาด 18 ห้องเรียน
3. ขนาด 24 ห้องเรียน
4. ขนาด 30 ห้องเรียน
5. ขนาด 36 ห้องเรียน
6. ขนาด 42 ห้องเรียน
7. ขนาด 48 ห้องเรียน
8. ขนาด 54 ห้องเรียน
9. ขนาด 60 ห้องเรียน
10.ขนาด 72 ห้องเรียน
นอกจากขนาดของแผนชั้นเรียนเต็มรูป 10 ขนาดนี้แล้ว ยังมีขนาดอื่น ๆ อีก เช่น 6 หรือ 9 หรือ 15 หรือ 66 เป็นต้น โรงเรียนที่มีแผนชั้นเรียนเต็มรูปต่างจากขนาดปกติทั้ง 10 ขนาดดังกล่าว ส่วนใหญ่จะปรับให้สอดคล้องกับตัวป้อนและความต้องการของชุมชน

3.2 ประสิทธิภาพของการบริหาร
ในการบริหารงานมีปัจจัยหลายประการที่จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ ขนาด
ของแผนชั้นเรียนเต็มรูปเป็นปัจจัยประการหนึ่ง ประเด็นของการพิจารณาอยู่ที่ว่าแผนชั้นเรียนเต็มรูปขนาดเท่าใด จึงจะเอื้ออำนวยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด จากการศึกษาพบว่าขนาดของโรงเรียนที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวนนักเรียนไม่ควรเกิน 1,500 คน
หรือประมาณ 36 ห้องเรียน แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องจัดเกิน 36 ห้องเรียน ก็พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ที่สุด ที่สามารถบริหารได้คล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดมีขนาด 60 ห้องเรียน หรือมีนักเรียนไม่เกิน 2,500 คน

3.3 จำนวนนักเรียนในพื้นที่บริการของโรงเรียน
จำนวนนักเรียนในพื้นที่บริการของโรงเรียนเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุด ที่ใช้ในการกำหนด
ขนาดและรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูป ซึ่งพื้นที่บริการของโรงเรียน หมายถึง อาณาบริเวณที่โรงเรียนจะรับนักเรียนได้โดยที่นักเรียนสามารถเดินทางมาเรียนได้สะดวก สำหรับข้อมูลที่ใช้จะมี 2 ส่วน คือ แผนชั้นเรียนรายปี จะทำให้ทราบข้อมูลจำนวนนักเรียนทั้งในอดีตและปัจจุบัน อีกส่วนหนึ่งการคาดคะเนแนวโน้มของจำนวนนักเรียนในพื้นที่บริการในอนาคต ในกรณีที่เป็นโรงเรียนเดิม
การวิเคราะห์กำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะใช้ข้อมูลทั้งสองส่วนมาพิจารณา แต่ถ้าเป็นโรงเรียนตั้งใหม่ก็คงใช้เฉพาะข้อมูลคาดคะเนจำนวนนักเรียนในอนาคตเท่านั้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสัดส่วนในการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. การขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 9 ปี และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี

3.4 พื้นที่ของโรงเรียน
จะเป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้กำหนดขนาดของแผนชั้นเรียนเต็มรูป โดยการคำนวณหาอัตราส่วน
พื้นที่ต่อนักเรียนและคิดออกมาเป็นจำนวนห้องเรียน สำหรับเกณฑ์การคิดพื้นที่ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ดังนี้
3.4.1 โรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนขนาดใหญ่ จะคิดพื้นที่ 30 ตารางเมตรต่อนักเรียน
1 คน
3.4.2 โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่มีประชากรหนาแน่น จะคิดพื้นที่ 10 ตารางเมตรต่อนักเรียน 1 คน

3.5 สภาพที่เอื้อต่อการเข้าเรียน
สภาพที่เอื้อต่อการเข้าเรียนได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์และการคมนาคม ซึ่งจะช่วยให้
นักเรียนสามารถเดินทางมาเรียนได้โดยสะดวก และใช้เวลาในการเดินทางไม่นานเกินไป ในการกำหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปของโรงเรียนควรคำนึงถึงสภาพดังกล่าวด้วย เพราะลักษณะของชุมชนในชนบท มักรวมตัวกันเป็นชุมชนที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่กระจายอยู่ทั่วไป อีกประการหนึ่งจากการศึกษาภาคบังคับได้ขยายไปถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนั้น จะทำให้นักเรียนระดับประถมศึกษาเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทุกคน และเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้น

4. ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดขนาดและรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูป จะใช้ข้อมูลในเรื่องจำนวนนักเรียน และพื้นที่ของโรงเรียนเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ และนำมาปรับให้เข้ากับขนาดและรูปแบบที่เหมาะสม โดยมีขั้นตอนการวิเคราะห์ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมข้อมูลในพื้นที่บริการที่โรงเรียนตั้งอยู่
1.1จำนวนนักเรียนที่คาดคะเนได้ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
1.2 แผนชั้นเรียนรายปีในอดีตและปัจจุบันของโรงเรียนย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี
ขั้นตอนที่ 2 กรอกข้อมูลตาราง ดังนี้
ช่องที่ 1 กรอกโรงเรียน และตำบลในพื้นที่บริการ
ช่องที่ 2 กรอกจำนวนพื้นที่ของโรงเรียน
ช่องที่ 4 กรอกแผนชั้นเรียนรายปีในอดีตและปุจจุบันของโรงเรียนย้อนหลัง 3 ปี
ช่องที่ 5-8 นำเป้าหมายจำนวนนักเรียนชั้น อ.1 ป.1 ม.1 และ ม.4 ที่ได้จากการประมาณการในพื้นที่บริการ เฉพาะปีสุดท้ายของปีที่กำหนดจำแผนเต็มรูป กรอกลงในช่องที่5-8
ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูล
3.1 แสดงเป้าหมายจำนวนนักเรียนชั้น อ.1 ป.1 ม.1 และม.4 ในช่องที่ 5-8 ให้เป็นห้องเรียน โดยชั้น อ.1 หารด้วย 30 ชั้น ป.1,ม.1,ม.4 หารด้วย 40 และนำผลลัพธ์ที่ได้กรอกลงในช่องที่ 9-12 ตามลำดับ
3.2 คำนวณขนาดแผนชั้นเรียนเต็มรูปของโรงเรียนจากที่ดินช่องที่ 3 โดยใช้สูตร ดังนี้

แผนชั้นเรียนเต็มรูป = พื้นที่ของโรงเรียนเป็น ตรม. .
พื้นที่เป็น ตรม./ นร. 1คน x จำนวน นร./ห้องเรียน

หรือ F = A .
S X C

F = แผนชั้นเรียนเต็มรูป
A = พื้นที่ของโรงเรียนเป็น ตรม.
S = พื้นที่เป็นตรม./ นร. 1 คน
C = จำนวนนักเรียน/ห้องเรียน

1 ไร่ เท่ากับ 4 งาน ( 1 งาน เท่ากับ 100 ตารางวา ) = 1 ไร่ เท่ากับ 400 ตารางวา
1 ไร่ เท่ากับ 1,600 ตรม. ( 1 ตารางวา เท่ากับ 4 ตรม.)

กรณีโรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่มีประชากรหนาแน่น พื้นที่ของโรงเรียนมีน้อย จะคิดพื้นที่ 10 ตรม.ต่อนักเรียน 1 คน ถ้าโรงเรียนไม่ได้ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่จะคิดพื้นที่ 30 ตรม.ต่อคน สำหรับจำนวนนักเรียนอนุบาลให้คิด 30 คนต่อห้อง และระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้คิด 40 คนต่อห้อง

นำผลลัพธ์ที่ได้กรอกลงในช่องที่ 3 เช่น โรงเรียนในส่วนภูมิภาคแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอที่มีชุมชนไม่หนาแน่น เช่น มีที่ดิน 18 ไร่ 2 งาน
18.50 x 1,600 = 24.6 หรือ 25 ห้องเรียน
30 x 40




ขั้นตอนที่ 4 กำหนดขนาดและรูปแบบ
พิจารณาข้อมูลในเรื่องขนาดแผนชั้นเรียนเต็มรูป คำนวณจากกพื้นที่ (ช่อง 3) แผนชั้นเรียนย้อนหลัง( ช่องที่ 4) และจำนวนห้องเรียนที่คาดคะเนได้( ช่องที่ 9-12 ) แล้ว กำหนดขนาดรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูปของโรงเรียน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ประสิทธิภาพการบริหารและสถานที่เอื้อต่อการเข้าเรียนประกอบการพิจารณากำหนดขนาดและรูปแบบแผนชั้นเรียนเต็มรูปให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษา
โรงเรียนนำเสนอสำนักงานเขตพื้นการศึกษา เพื่อปรับเป็นภาพรวมและอนุมัติรายโรง

การจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี


1. ความหมายของแผนชั้นเรียนรายปี

แผนชั้นเรียนรายปี หมายถึง แผนที่กำหนดว่าโรงเรียนใดจะเปิดรับนักเรียนชั้นใด
กี่ห้องเรียน /กี่คนในแต่ละปี โดยที่โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความสำคัญของแผนชั้นเรียนรายปี
แผนชั้นเรียนรายปีมีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการศึกษา ดังนี้
2.1 ใช้เป็นแผนในการรับนักเรียนรายปี
2.2 ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้งงบประมาณ
2.3 ใช้กำหนดเป้าหมายจำนวนนักเรียนรายปี
3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนชั้นเรียน
3.1 จำนวนประชากรวัยเรียนในเขตพื้นที่บริการ ตามรายอายุ
3.2 จำนวนนักเรียนในปีปัจจุบัน
3.3 จำนวนห้องเรียนในปีปัจจุบัน
3.4 ข้อมูลอัตราการเข้าเรียนในโรงเรียน 3 ปีย้อนหลัง
4. รูปแบบการเขียนแผนชั้นเรียนรายปี
การเขียนแผนชั้นเรียนรายปีจะเขียน ตามระดับชั้นที่โรงเรียนเปิดสอนเท่านั้น เรียงตามลำดับชั้น ทั้งในรูปแบบห้องเรียนและนักเรียน เช่น
ก. โรงเรียนประถมศึกษา / ขยายโอกาสทางการศึกษา
4.1 อ.1 – อ.2 /ป.1 –ป.2 –ป.3// ป.4 –ป.5-ป.6
ห้องเรียน 1 -1 /2 – 2 – 2// 2 – 2 – 2
นักเรียน 30 – 30/ 80 – 80 - 80// 80 – 80 – 80

4.2 ป.1 –ป.2 –ป.3// ป.4 –ป.5ป-ป.6
ห้องเรียน 2 – 2 – 2// 2 – 2 – 2
นักเรียน 80 – 80 - 80// 80 – 80 – 80
4.3 อ.1 – อ.2 /ป.1 –ป.2 –ป.3// ป.4 –ป.5ป-ป.6/// ม..1- ม.2 - ม.3
ห้องเรียน 1 - 1/2 – 2 – 2// 2 – 2 – 2///1 – 1 – 1
นักเรียน 30 – 30/ 80 – 80 - 80// 80 – 80 – 80/// 40 – 40 -40
ข. โรงเรียนมัธยมศึกษา
4.4 ม.1 –ม.2 –ม.3/ ม.4 –ม.5 -ม.6
ห้องเรียน 4 – 4 - 4 / 3 – 3 – 3
นักเรียน 160 – 160- 160 / 120 – 120 - 120
4.5 ม.1 –ม.2 –ม.3 / -
ห้องเรียน 4 – 4 – 4/ -
นักเรียน 160 – 160 – 160 / -
4.6 - / ม. 4 – ม.5 – ม. 6
ห้องเรียน - / 3 – 3 – 3
นักเรียน - / 120 – 120 – 120

5. หลักการจัดทำแผนชั้นเรียนรายปี
4.1 การจัดทำแผนชั้นเรียนรายปีจะต้องคำนึงถึงพื้นที่บริการของโรงเรียน ประชากรในกลุ่มอายุของเขตพื้นที่ และจะต้องร่วมกันวางแผนการรับนักเรียน โดยให้ดำเนินการ
4.2 การกำหนดแผนชั้นเรียนรายปี รายโรง ตามตารางที่ 7 โดยยึดหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) เกณฑ์การบรรจุนักเรียนต่อห้อง
1.1 ก่อนประถม จำนวน 30 คน ต่อ 1 ห้อง
1.2 ป.1-ป.6 จำนวน 40 คน ต่อ 1 ห้อง
1.3 ม.1- ม.3 จำนวน 40 คน ต่อ 1 ห้อง
1.4 ม.4 – ม.6 จำนวน 40 คน ต่อ 1 ห้อง
2) พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 กำหนดให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับต้องเรียนครบทุกคน สถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องเกณฑ์เด็กเข้าเรียนชั้น ป.1 และจัดสรรโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนที่จบชั้น ป.6
3) ควบคุมขนาดและการรับนักเรียนของโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนยอดนิยมให้สามารถบริหารจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ โดยเฉลี่ยนักเรียนให้ไปเข้าเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก
4) โรงเรียนที่เปิดสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายควรจัดแผน
ชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มากกว่าแผนชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเปิดโอกาสให้โรงเรียนอื่นหรือสังกัดอื่นเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้
5) แผนชั้นเรียนกับแผนการเรียนหรือกลุ่มการเรียน ให้จัดแผนชั้นเรียนตามเกณฑ์การบรรจุนักเรียนต่อห้อง โดยไม่ต้องคำนึงถึงแผนการเรียน กลุ่มวิชา ถ้าโรงเรียนจะจัดแผนชั้นเรียนให้มีจำนวนห้องตามจำนวนแผนการเรียนหรือกลุ่มการเรียนที่โรงเรียนจัด ให้โรงเรียนดำเนินการจัดเป็นการภายในได้ และให้นับจำนวนห้องเรียนพิเศษด้วย เช่น MEP GEP หรือนักเรียนโครงการประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รวมไว้ในแผนชั้นเรียนรายปีด้วย
6) วิเคราะห์การจัดแผนชั้นเรียน โดยชั้น อ.1 ป.1 และ ม.1 ต้องได้เรียนครบทุกคน และส่งเสริมให้เด็กเข้าเรียนชั้น ม.4 โดยคาดคะเนจำนวนนักเรียนจากแนวโน้มในอดีตที่ผ่านมา สำหรับชั้นอื่น ๆ ให้ใช้วิธีเลื่อนจากจำนวนนักเรียนจริงในปีการศึกษาปัจจุบัน
4.3 สถานศึกษาจัดทำตารางที่ 1- 6 (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระดับที่เปิดสอน) ส่ง สพท. และ สพท.จัดทำ ตารางที่ 1 และ ตารางที่ 7-10 ส่ง สพฐ.

5. องค์ประกอบที่ใช้กำหนดแผนชั้นเรียนรายปี
การวิเคราะห์กำหนดแผนชั้นเรียนรายปี จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
5.1 จำนวนนักเรียนที่คาดคะเนว่าจะมาเรียนในชั้น อ.1 ป.1 ม.1 และ ม.4 ในพื้นที่บริการ
ของโรงเรียน
5.2 แนวโน้มในการรับนักเรียน อ.1 ป.1 ม.1 และ ม.4 ของโรงเรียนในอดีตที่ผ่านมาโดยพิจารณาจากแผนชั้นเรียนที่โรงเรียนจัดอยู่แล้วในปัจจุบัน
5.3 จำนวนอาคาร สถานที่ และบุคลากร โดยพิจารณาจากที่ดิน อาคารเรียน อาคารประกอบ จำนวนครู อาจารย์
5.4 ขนาดของแผนชั้นเรียนเต็มรูป (แผนชั้นเรียนรายปีไม่ควรเกินแผนชั้นเรียนเต็มรูป)
6.กำหนดการจัดทำและจัดส่ง
6.1 สถานศึกษาสำรวจข้อมูลประชากร เตรียมข้อมูลนักเรียนที่มีอยู่จริง อัตราการเข้าเรียน จัดทำแผนชั้นเรียนรายปี ตามตารางที่ 1 - 6 จัดส่ง สพท. ภายในเดือน กันยายน
6.2 สพท. รวบรวม ตรวจสอบข้อมูลจากสถานศึกษา จัดพิมพ์ ตามแบบตารางที่กำหนด เป็นแผนชั้นเรียนรายโรง อัตราการเรียนต่อ จัดส่ง สพฐ. ภายในเดือน ตุลาคม

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี


ขั้นตอนและแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี

1. ศึกษารายละเอียดงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจาก สพฐ.
2. วิเคราะห์เป้าหมายผลการปฏิบัติงานและศักยภาพของเขตพื้นที่การศึกษา
3. ทบทวนกลยุทธ์ เพื่อปรับแผนงาน/โครงการ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายผลการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษา
4. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสรรงบประมาณประจำปี เพื่อบริหารโครงการ/กิจกรรม
4. งานนโยบายและแผน จัดทำแบบเสนอโครงการ/กิจกรรม
5. แจ้งให้ทุกกลุ่มทราบและพิจารณาจัดทำโครงการ/กิจกรรม ที่จะดำเนินการเพื่อรับรับงบประมาณที่ได้รับ
6. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการ/กิจกรรม
5. จัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ ซึ่งระบุแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ
6. นำเสนอแผนปฏิบัติการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
7. มอบแผนปฏิบัติราชการให้กับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และเผยแพร่ให้สถานศึกษาในสังกัดทราบ

ขั้นตอนการขออนุมัติใช้เงินตามโครงการ

1.เมื่อได้รับแจ้งการโอนเงินประจำงวดแล้ว ให้เจ้าของโครงการดำเนินการตามโครงการได้ โดยให้บันทึกเสนอ
ขออนุมัติใช้เงินงบประมาณตามโครงการผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับ โดยแนบโครงการเพื่อขออนุมัติผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อีกครั้งหนึ่ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเบิก-จ่ายต่อไป
2. ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมตามโครงการเดิม ขอให้บันทึกชี้แจงเหตุผล ความจำเป็น และแนบโครงการ
ที่ปรับใหม่ เสนอผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อนุมัติก่อนที่จะดำเนินการตามโครงการ ทุกครั้ง
3. ขอให้เจ้าของโครงการ/กิจกรรม ดำเนินการตามแผนงาน และเร่งเบิกจ่าย ให้ทันปีงบประมาณ

องค์ประกอบในการพิจารณาการขอเปิดขยายชั้นเรียน


องค์ประกอบในการพิจารณาการขอเปิดขยายชั้นเรียน

การขยายชั้นเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

การขอเปิดขยายชั้นเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ให้พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
3. สถานศึกษาต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไม่น้อยกว่า 40 คน
4. สถานศึกษาต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีครูเพียงพอในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
5. สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร

การขยายชั้นเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

การขอเปิดขยายชั้นเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมอยู่ในระดับดี
2. สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอต่อการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ ให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ และอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี มีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา
3. สถานศึกษาต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไม่น้อยกว่า 40 คน
4. เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำ ในกรณีที่เป็นพื้นที่พิเศษ ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอขยายชั้นเรียน
5. สถานศึกษาต้องมีแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 5 ห้องเรียน
6. สถานศึกษาต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ มีความสามารถ
ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีครูเพียงพอทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
7. สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษา
ตลอดหลักสูตร

การเขียนโครงการที่ถูกต้อง


องค์ประกอบของโครงการ
1. ชื่อโครงการ
2. หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
3. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์
6. เป้าหมาย
7. สถานที่ดำเนินงาน
8. วิธีดำเนินงาน
9. งบประมาณ
10. การติดตามประเมินผล
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบโครงการ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้
1. ชื่อโครงการ
ต้องเขียนชัดเจนว่าต้องการทำอะไร แก่ใคร ที่ไหน เช่น “โครงการประเมินเชิงปฏิบัติการการเขียนเค้าโครงการวิจัยชั้นเรียนสำหรับครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา....” เป็นต้น
2. หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
ต้องระบุไว้ชัดเจน เพื่อสะดวกในการติดต่อประสาน ถ้าเป็นกลุ่มควรระบุหัวหน้าโครงการและผู้ร่วมโครงการด้วย
3. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ต้องระบุเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุด
4. หลักการและเหตุผล
ควรกล่าวถึงความเป็นมา และความจำเป็นที่ต้องดำเนินโครงการ ถ้าไม่ดำเนินโครงการจะส่งผลเสียหาย หรือทำให้การพัฒนาหยุดชะงักได้อย่างไร
5. วัตถุประสงค์
ต้องเขียนผลที่ได้อย่างชัดเจน ที่สำคัญคือต้องสามารถวัดได้ รวมทั้งสอดคล้องกับกิจกรรม เป้าหมาย และชื่อโครงการด้วย
6. เป้าหมาย
ต้องระบุอย่างเป็นรูปธรรม และถ้าเป็นเชิงปริมาณได้จะยิ่งดี รวมทั้งต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรม
7. สถานที่ดำเนินงาน
ระบุสถานที่ดำเนินโครงการจากเล็กไปหาใหญ่ เช่น จากโรงเรียน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ถึงจังหวัด เป็นต้น
8. วิธีดำเนินงาน
ในส่วนนี้อาจเรียกว่าแผนการดำเนินงานซึ่งมักจะเขียนในรูปตารางดังที่เห็นทั่วไป โดยมีสาระสำคัญ ๆ ดังนี้
1) วิธีการ เขียนให้เห็นกิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นลำดับ ระบุแนวทางและวิธีการโดยละเอียด โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรม
2) ระยะเวลา เป็นระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมย่อย
3) สถานที่ เป็นสถานที่ของแต่ละกิจกรรมย่อย
4) ผู้เกี่ยวข้อง ระบุผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตามกิจกรรมย่อย
9. งบประมาณ
ระบุงบประมาณทั้งหมดและแหล่งที่มา รวมทั้งแบ่งเป็นหมวด ๆ ตามเกณฑ์ที่หน่วยงานหรือต้นสังกัดกำหนด
10. การติดตามประเมินผล
ควรระบุประเด็นที่สำคัญ ๆ เช่น ประเมินประเด็นสำคัญอะไรบ้าง ประเมินโดย ใคร ใช้รูปแบบหรือแนวทางอย่างไร เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบใด เป็นต้น
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเมื่อถึงเวลาที่กำหนดจะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง ทั้งประโยชน์หรือผลที่ได้โดยตรงและโดยอ้อม
12. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
โครงการในปัจจุบันหน่วยงานหรือต้นสังกัดมักจะกำหนดให้ผู้รับผิดชอบโครงการระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ โดยอาจจะระบุตัวชี้วัดในลักษณะผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ หรือระบุในลักษณะงบประมาณ เวลา ผลที่ได้ เป็นต้น



(แบบฟอร์มการเขียนโครงการ)

โครงการ ....................................................................................................................

1. ชื่อโครงการ ............................................................................................................. .....
แผนงาน .......................................................................................................................
นโยบาย/จุดเน้น ......................................................................................
สอดคล้องมาตรฐาน สพฐ. มาตรฐานที่ ........................................................................
………………………………………………………………………………………….


2. หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ
………………………………………………………. ..................................................
.......................................................................................................................................

3. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
เริ่ม ……………………………………………………….
สิ้นสุดโครงการ ..................................................................
4. หลักการและเหตุผล
…………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………….
5. วัตถุประสงค์
……………………………………………………………………………..…….
……………………………………………………………………..…………….

6. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ …………………………………………………..………………….
………………………………………………………………..…….
เชิงคุณภาพ ......................……………………………………………………….
……………...……………………………………………………….

7. สถานที่ดำเนินงาน
…………………………………………………………………………………….


8. วิธีดำเนินงาน

ขั้นตอน / กิจกรรม ระยะเวลา สถานที่ ผู้เกี่ยวข้อง

1......................... ........................... .............................. ................................
2.......................... ............................ ............................... ................................
3.......................... ............................ ................................ ................................


(โครงการที่มีอบรม ให้เพิ่มเติมหลักสูตรการอบรม / วิทยากร / และ ตารางการอบรม

9. งบประมาณ
งบประมาณทั้งสิ้น …………………….. บาท
แหล่งงบประมาณ ……………………………………………………….
เป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. .........................................................................................................
2. ........................................................................................................
3. ........................................................................................................
โดยขอถัวจ่ายทุกรายการ ตามที่จ่ายจริง
10. การติดตามประเมินผล
………………………………………………………………………………….….
…………………………………………………………….……………………….

11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
……………………………………………………………….…………………….
…………………………………………………….……………………………….

12. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
…………………………………………………………………….……………….
…………………………………………………………….……………………….

ลงชื่อ................................ผู้เสนอโครงการ ลงชื่อ....................................ผู้เห็นชอบโครงการ
(............................................) (............................................)
ตำแหน่ง..................................... รอง ผอ.ฝ่าย / กลุ่ม ...........................................



ลงชื่อ ................................. ผู้อนุมัติโครงการ
( )
ตำแหน่ง..........................................